March 20, 2021
ผมเป็นคนชอบรับข้อมูล ชอบอ่านหนังสือ ชอบดู Youtube ดูหนัง ฟัง podcast ไม่เคยปล่อยให้ตัวเองว่าง จะต้องมีอะไรเอาเข้าหัวตลอด ไม่ใช่เพราะเป็นคนใฝ่รู้อะไรหรอก แต่เป็นคนชอบทำกิจกรรมคนเดียว (Introversion level 90) กิจกรรมพวกนี้ก็เลยเป็นความเอนจอยของชีวิตอยู่แล้ว แต่น่าเสียดาย ข้อมูลพวกนี้ไม่ค่อยได้เอาไปใช้ทำอะไรสักเท่าไหร่ หลาย ๆ อย่างก็ลืมไปแทบจะทันที
หนังสือ The Power of Output บอกว่ากิจกรรมด้านบนของผมถือเป็นการทำ input การทำ input ที่ไม่มี output ถือว่าไร้ประโยชน์ โอ้โห แค่นี้ก็โดนใจแล้ว ชีวิตที่ผ่านมาทำมี input แต่มันสูญหายไปจริง ๆ อย่างที่ว่า ครึ่งแรกของหนังสือจะแนะนำการทำ output แบบการพูดและแสดงออกอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ สิ่งที่ผมสนใจจริง ๆ คือครึ่งหลังที่เกี่ยวกับการเขียนต่าง ๆ เช่น การทำ presentation การเขียนรีวิวหนังสือ หรือการเขียนบันทึกประจำวัน ซึ่งผมสามารถนำไปใช้ควบคู่กับ BuJo ที่ผมเพิ่งอ่านจบไปก่อนหน้าได้ด้วย เช่น framework การเขียนรีวิวหนังสือแบบง่าย ๆ หรือการเขียนเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่เราชอบ และงานอดิแรก
หลังจากนี้ไป ทุก ๆ input ผมจะมีการคิดตามหลักนี้ จะพยายามหาแง่มุมที่นำมาทำ output ต่อได้ แต่ก็จะไม่เครียดกับมันจนเกินไป หากคิดไม่ออกจริง ๆ ก็จะไม่ไปบีบคั้นตัวเองมากนัก เน้นไปที่ความสนุกมากกว่า
11 output เปลี่ยนแปลงโลกในความเป็นจริง
45 การพูดในแง่บวก จะส่งผลให้ทีมทำงานได้ดีขึ้น
46 การพูดว่าร้ายคนอื่นจะส่งผลในแง่ลบ
50 พูดอย่างไร (น้ำเสียง, มารยาท หรือสีหน้า) สำคัญกว่าพูดว่าอะไร เวลาพูดหรือฟังควรมองตา
58 การให้ negative feedback
60 ทักทายดีกว่าเมินเฉย
63 ชวนพูดคุยบ่อย ๆ จะทำให้เพิ่มความชื่นชอบ
70 ตั้งคำถามที่ทำให้อีกฝ่ายโดยคำนึงถึงสิ่งที่อีกฝ่ายอยากจะพูด
94 ชมในเรื่องที่อยากให้ทำ ดุในเรื่องที่ไม่อยากให้ทำ
119 ฝึกแนะนำตัวจะช่วยสร้างความประทับใจ
121 พูดถึง vision ของเราจะช่วยให้คนอื่นความรู้สึกร่วม
128 การขายคือการชวนให้เห็นคุณค่า
130 การขอบคุณจะหลั่งสารแห่งความสุข ทั้งผู้ให้และผู้รับ
147 การ doodle จะช่วยเพิ่มความสามารถในการจำ
150 การเขียนช่วยทำรายการสิ่งที่อยู่ในสมอง (Like decluttering your mind in Bujo)
152 feedback จะช่วยพัฒนาการเขียน
155 ร่างเนื้อหาก่อนจะช่วยให้เขียนได้เร็วขึ้น
170 เขียน note สิ่งที่ค้นพบไว้ภมยใน 30 นาที
190 การทำ presentation: บทนำ -> พื้นฐาน -> เนื้อหาหลัก -> บทสรุป
198 ควรรวบรวมข้อมูลอ้างอิงเสมอ เผื่อไว้ใช้ได้ในอนาคต
201 ใช้ Google Books ค้นหาเนื้อหาในหนังสือได้
223 ส่งอีเมลตอบรับทันที เพื่อบอกคนส่งว่าเราได้อ่านแล้ว
227 ใช้ tools ที่ทำให้เราสนุกกับการเขียน เช่น ใช้ของดี
269 ทำ (output) ให้เสร็จแบบไม่ต้องหวังว่าคุณภาพจะได้ 100% แต่ให้คาดหวังแค่ 30% แล้วค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ
270 ความเป็นผู้นำ ให้ใช้วิสัยทัศน์แทนเป้าหมาย จะทำให้คนอื่นคล้อยตามได้ง่ายกว่า
286 การออกกำลังกายจะช่วยพัฒนาสมองด้วย
291 การบริหารเวลา แบ่งเป็น session ละ 15 นาที
302 วิธีเขียนบันทึกประจำวัน เขียนเรื่องแง่บวก หรือเปลี่ยนเรื่องลบให้เป็นเรื่องบวก
308 จดบันทึกสุขภาพ เช่น น้ำหนัก ความรู้สึก หรือการนอน
311 การเขียนรีวิวหนังสือ: เขียน before -> (เรื่องที่ค้นพบ + to-do)
330 การเขียนเกี่ยวกับงานอดิเรก: ความรู้สึก -> ความคิดเห็น -> สิ่งที่ค้นพบ
Written by Warizz Yutanan, a software developer who try to live a happy life